Header

"ไอกรน" โรคร้ายคล้ายหวัด แต่อันตรายถึงชีวิต

13 พฤศจิกายน 2567

พญ.ณัชชา สากระจาย

โรคไอกรน

เป็นโรคติดเชื้อของระบบทางเดินหายใจ ทำให้มีการอักเสบของเยื่อบุทางเดินหายใจ และเกิดอาการไอ ที่มีลักษณะพิเศษคือ ไอติดต่อกัน 5-10 ครั้ง หรือจนเด็กหายใจไม่ทัน และมีอาการหายใจเข้าลึกๆ เป็นเสียง วู๊ป (Whooping cough) สลับกันไปกับการไอเป็นชุดๆ จึงมีชื่อเรียกว่า “โรคไอกรน” บางครั้งอาการอาจจะเรื้อรังนานเป็นเวลา 2-3 เดือน 

สาเหตุของโรคไอกรน
เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Bordetella pertussis (B. pertussis) เป็นเชื้อที่เพาะขึ้นใน Bordet Gengau media ซึ่งเป็นเชื้อที่เพาะขึ้นได้ยาก

จะพบเชื้อได้ในลำคอในส่วน nasopharynx ของผู้ป่วยในระยะ 1-2 อาทิตย์แรก ก่อนมีอาการไอเป็นแบบ paroxysmal

การติดเชื้อและการระบาด
ไอกรนเป็น โรคที่ติดต่อกันได้ง่ายจากการไอ จาม รดกันโดยตรง ผู้สัมผัสโรคที่ไม่มีภูมิคุ้มกันจะติดเชื้อเกือบทุกราย โรคนี้พบได้บ่อยในเด็ก ส่วนใหญ่ติดเชื้อมาจากคนในครอบครัว ซึ่งมีการติดเชื้อแต่ไม่มีอาการ (carrier) หรือมีอาการไม่มาก โรคไอกรนเป็นได้กับทารกตั้งแต่เดือนแรก เนื่องจากภูมิคุ้มกันจากแม่ผ่านมายังลูกไม่ได้หรือได้น้อยมากและเด็กเล็กอาการจะรุนแรงมากและมีอัตราเสียชีวิตสูง ส่วนใหญ่ของผู้ที่มีอาการรุนแรงและเสียชีวิต เป็นเด็กอายุต่ำกว่า 1 ปีและเป็นเด็กที่ไม่เคยได้รับวัคซีนมาก่อน ซึ่งจริงๆแล้วโรคนี้สามารถเป็นได้ทุกอายุ ถ้าไม่มีภูมิคุ้มกัน แต่ในวัยผู้ใหญ่อาจไม่มีอาการ หรือไม่มีอาการแบบไอกรน จึงไม่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคไอกรน

อาการที่พบ
อาการของโรคแบ่งได้เป็น 3 ระยะ ดังนี้
1) ระยะแรก เด็กจะเริ่มมีอาการ มีน้ำมูก และไอ เหมือนอาการเริ่มแรกของโรคหวัดธรรมดา อาจมีไข้ต่ำๆ ตาแดง น้ำตาไหล ระยะนี้เรียกว่า Catarrhal stage จะเป็นอยู่ประมาณ 1-2 สัปดาห์ ระยะนี้ส่วนใหญ่ยังวินิจฉัยโรคไอกรนไม่ได้ แต่มีข้อสังเกตว่าไอนานเกิน 10 วัน เป็นแบบไอแห้งๆ
2) Paroxysmal stage ระยะนี้มีอาการไอเป็นชุดๆ เมื่อเข้าสู่สัปดาห์ที่ 3 ไม่มีเสมหะ จะเริ่มมีลักษณะของไอกรน คือ มี อาการไอถี่ๆ ติดกันเป็นชุด 5-10 ครั้ง ตามด้วยการหายใจเข้าอย่างแรงจนเกิดเสียง วู๊ป (whoop) ซึ่งเป็นเสียงการดูดลมเข้าอย่างแรง ในช่วงที่ไอผู้ป่วยจะมีหน้าตาแดง น้ำมูก น้ำตาไหล ตาถลน ลิ้นจุกปาก เส้นเลือดที่คอโป่งพอง การไอเป็นกลไกที่จะขับเสมหะที่เหนียวข้นในทางเดินหายใจออกมา ผู้ป่วยจึงจะไอติดต่อกันไปเรื่อยๆ จนกว่าจะสามารถขับเสมหะที่เหนียวออกมาได้ บางครั้งเด็กอาจจะมีหน้าเขียว เพราะหายใจไม่ทันโดยเฉพาะเด็กเล็กๆ อายุน้อยกว่า 6 เดือน จะพบอาการหน้าเขียวได้บ่อย และบางครั้งมีการหยุดหายใจร่วมด้วย อาการหน้าเขียวอาจจะเกิดจากเสมหะอุดทางเดินหายใจได้ ส่วนใหญ่เด็กเล็กมักจะมีอาการอาเจียนตามหลังการไอเป็นชุดๆ ระยะไอเป็นชุดๆ นี้จะเป็นอยู่นาน 2-4 สัปดาห์ หรืออาจนานกว่านี้ได้
3) ระยะฟื้นตัว (Convalescent stage) กินเวลา 2-3 สัปดาห์ อาการไอเป็นชุดๆ จะค่อยๆ ลดลงทั้งความรุนแรงของการไอและจำนวนครั้ง แต่จะยังมีอาการไอหลายสัปดาห์ ระยะของโรคทั้งหมดถ้าไม่มีโรคแทรกซ้อนจะใช้เวลาประมาณ 6-10 สัปดาห์

การรักษาโรคไอกรน
เนื่องจากเชื้อ B. pertussis จะมีอยู่ในลำคอของผู้ป่วยในช่วงระยะแรก (Catarrhal stage) ดังนั้นถ้าให้ยาปฎิชีวนะที่ได้ผลเฉพาะคือ erythromycin ในขนาด 50 มก./กก./วัน เป็นระยะเวลา 14 วัน ในระยะนี้จะช่วยให้ความรุนแรงของโรคลดลงได้ แต่ถ้าพบผู้ป่วยระยะที่มีการไอเป็นชุดๆ แล้วการให้ยาจะไม่สามารถเปลี่ยนแปลงความรุนแรงของโรคได้ แต่จะสามารถฆ่าเชื้อโรคที่อาจจะยังมีอยู่ให้หมดไปได้ในระยะ 3-4 วัน เป็นการลดการแพร่กระจายของเชื้อได้
การรักษาตามอาการ : ให้เด็กได้พักผ่อน ดื่มน้ำอุ่น อยู่ในห้องที่มีอากาศถ่ายเทได้ดี หลีกเลี่ยงสาเหตุที่จะทำให้เด็กไอมากขึ้น เช่น การออกแรง ฝุ่นละออง ควันไฟ ควันบุหรี่ อากาศที่ร้อนหรือเย็นจัดเกินไป

การป้องกันพาหะ

การแยกผู้ป่วย
ผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วย erythromycin เชื้อจะหมดไปภายใน 5 วัน ดังนั้น จึงแยก
ผู้ป่วย 5 วัน นับจากที่เริ่มให้ยา หรือแยกไว้ 3 สัปดาห์ หลังจากที่เริ่มมีอาการไอแบบ paroxysmal

ผู้สัมผัสโรค
ทุกคนควรได้รับการติดตามดูว่าจะมีอาการไอเกิดขึ้นหรือไม่อย่างใกล้ชิด โดยติดตามไปอย่างน้อย 2 สัปดาห์ เด็กที่สัมผัสโรคอย่างใกล้ชิดควรได้รับ erythromycin (40-50 มก./กก./วัน)
14 วัน ถึงแม้จะได้รับวัคซีนป้องกันครบแล้วก็ตาม ทั้งนี้เพราะระดับภูมิคุ้มกันต่อโรคไอกรนอาจไม่สูงพอในเด็กบางคน ผู้สัมผัสโรคที่อายุน้อยกว่า 6 ปี ที่ไม่เคยได้รับวัคซีนหรือได้ไม่ครบ 4 ครั้ง ควรจะเริ่มให้วัคซีนหรือเพิ่มให้ครบตามกำหนดการสร้างเสริมภูมิคุ้มกัน ผู้สัมผัสโรคที่เคยได้รับมาแล้ว 4 ครั้ง ให้กระตุ้นเพิ่มอีก 1 ครั้ง ยกเว้นเด็กที่เคยได้รับ booster มาแล้วภายใน 3 ปี หรือเป็นเด็กอายุเกิน 6 ปี ไม่ต้องฉีดกระตุ้นเพิ่ม ส่วนผู้ที่เคยได้มาแล้ว 3 ครั้ง และครั้งที่ 3 เกิน 6 เดือน ควรจะให้ dose ที่ 4 ทันทีที่สัมผัสโรค

 

การให้วัคซีนป้องกัน
ในเด็กอายุน้อยกว่า 6 ปี การได้รับวัคซีนป้องกันไอกรน 5 ครั้ง 

ครั้งที่ 1 : เริ่มเมื่ออายุ 2 เดือน 

ครั้งที่ 2 : เมื่ออายุ 4 เดือน 

ครั้งที่ 3 : เมื่ออายุ 6 เดือน 

ครั้งที่ 4 : เมื่ออายุ 18 เดือน 

ครั้งที่ 5 : ฉีดกระตุ้นเมื่ออายุ 4 ปี 

 

ขอบคุณข้อมูลจาก : กรมควบคุมโรค



ศูนย์การรักษาที่เกี่ยวข้อง

กุมารแพทย์ 24 ชั่วโมง หมอเด็กเฉพาะทาง

สถานที่

อาคาร A ชั้น 1

เวลาทำการ

24 ชั่วโมง

เบอร์ติดต่อ

045-244-999

แพทย์ประจำศูนย์

กุมารแพทย์ 24 ชั่วโมง หมอเด็กเฉพาะทาง

พญ.กัญยาณี เวชกามา

เฉพาะทางโรคภูมิแพ้ หอบหืดและภูมิคุ้มกันวิทยา

กุมารแพทย์ 24 ชั่วโมง หมอเด็กเฉพาะทาง

พญ.ขวัญนุช ศรีกาลา

กุมารเวชศาสตร์โรคเลือดและมะเร็งเด็ก

กุมารแพทย์ 24 ชั่วโมง หมอเด็กเฉพาะทาง

พญ.ณัชชา สากระจาย

กุมารเวชศาสตร์โรคทางเดินหายใจ

แพทย์แนะนำ

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

พญ.กิติยา จันทรวิถี

พญ.กิติยา จันทรวิถี

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

อายุรแพทย์โรคหัวใจและหลอดเลือด

นพ. ลิขิต กำธรวิจิตรกุล

ศัลยเเพทย์ออร์ปิดิกส์

บทความที่เกี่ยวข้อง

ทำไมต้องฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ทุกๆปี ?

ในช่วงเวลา 2-3 ปีที่ผ่านมา ทั่วทุกมุมโลกต้องเผชิญกับภัยของไวรัสโคโรนา หรือไวรัสโควิด-19 ที่เข้ามาเปลี่ยนวิถีชีวิตของทุกคน ให้ต้องใช้ชีวิตด้วยความระมัดระวังและอยากลำบาก เพราะไวรัสโควิด-19 ได้คร่าชีวิตผู้คนไปไม่น้อยเลยทีเดียว

ทำไมต้องฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ทุกๆปี ?

ในช่วงเวลา 2-3 ปีที่ผ่านมา ทั่วทุกมุมโลกต้องเผชิญกับภัยของไวรัสโคโรนา หรือไวรัสโควิด-19 ที่เข้ามาเปลี่ยนวิถีชีวิตของทุกคน ให้ต้องใช้ชีวิตด้วยความระมัดระวังและอยากลำบาก เพราะไวรัสโควิด-19 ได้คร่าชีวิตผู้คนไปไม่น้อยเลยทีเดียว