Header

ทำไมต้องตรวจมะเร็งปากมดลูก?

ทำไมต้องตรวจมะเร็งปากมดลูก

เพราะผู้หญิงมีความเสี่ยงที่จะเป็นมะเร็งปากมดลูก คุณสุภาพสตรีหลายท่านคงมีความกังวลในการตรวจ

แต่ไม่ต้องกังวลไป เพราะการตรวจไม่น่ากลัวอย่างที่คิด

HPV หรือ “Human Papillomavirus” เป็นเชื้อไวรัสก่อให้เกิดโรคติดเชื้อ ผ่านการสัมผัสกับเชื้อโดยตรง หรือการมีเพศสัมพันธ์ ซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดมะเร็งชนิดต่างๆ ได้แก่ มะเร็งช่องปากและลำคอ มะเร็งปากมดลูก มะเร็งช่องคลอด มะเร็งปากช่องคลอด มะเร็งทวารหนัก และมะเร็งอวัยวะเพศชาย 

 

อาการของมะเร็งปากมดลูก

มะเร็งปากมดลูก มักไม่แสดงอาการในระยะแรก แต่คุณสุภาพสตรี สามารถลองสังเกต

อาการผิดปกติที่เกิดขึ้นได้ เช่น 

  • ตกขาวมีเลือดปน หรือ ตกขาวมากกว่าปกติ
  • เลือดออกจากช่องคลอด หรือมีเลือดออกหลังมีเพศสัมพันธ์ เลือดออกหลังจากหมดประจำเดือน
  • ประจำเดือนมาไม่ปกติ
  • ปวดเจ็บขณะมีเพศสัมพันธ์
  • ปวดท้องน้อย ปวดหน่วงบริเวณหัวหน่าว
  • ปัสสาวะ/อุจจาระปนเลือด
  • ปัสสาวะไม่ค่อยออก 
  • น้ำหนักลดโดยไม่ทราบสาเหตุ เบื่ออาหาร อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย
  • ปวดหลัง ขาบวม ไตวาย (กรณีที่มะเร็งมีระยะลุกลามมาก) 

หากสังเกตพบอาการผิดปกติดังกล่าว ควรรีบมาพบแพทย์ 

มะเร็งปากมดลูก-โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

 

การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก

 *การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ด้วยวิธี HPV DNA test เป็นการตรวจมาตรฐานในปัจจุบัน มีความไวในการตรวจพบระยะก่อนมะเร็งสูง เพื่อหาต้นเหตุของมะเร็งปากมดลูก 

  • อายุสำหรับการตรวจคัดกรอง เริ่มที่อายุ 25-30 ปี 
  • ความเสี่ยงที่จะเป็นมะเร็งปากมดลูก ตั้งแต่เรามีเพศสัมพันธ์ครั้งแรก
  •  มะเร็งปากมดลูกเกิดจากการติดเชื้อ HPV เพราะเป็นเชื้อที่ติดง่าย 
  • นอกจากเพศสัมพันธ์แล้ว ยังสามารถติดต่อทางการสัมผัสได้ด้วย (เป็นลักษณะพาหะที่นำพาเชื้อไปสู่ช่องคลอดได้) 
  • แต่พอติดเชื้อแล้ว กลับไม่มีอาการ ไม่เจ็บ ไม่ปวด ไม่มีบาดแผลอะไรเกิดขึ้น (เกิดความผิดปกติระดับเซลล์ ซึ่งใช้เวลานานหลายปี ก่อนกลายเป็นมะเร็งปากมดลูก)

 

การป้องกันมะเร็งปากมดลูก

ควรฉีดวัคซีนป้องกันเชื้อเอชพีวี (HPV) ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญของโรคมะเร็งปากมดลูก และตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก 

การฉีดวัคซีน HPV สามารถป้องกันโรคและมะเร็งที่เกิดจาก HPV ได้สูงถึง 97-100% สามารถฉีดได้ทั้งผู้หญิงและผู้ชาย ตั้งแต่อายุ 9-45 ปี (ฉีด 3 เข็ม หากอายุเท่ากับหรือมากกว่า 15 ปี)

  • การฉีดวัคซีนจะต้องฉีดทั้งหมด 3 เข็ม โดยฉีดเข้ากล้ามเนื้อ และจะต้องฉีดเข็มที่ 2 ห่างจากเข็มแรก 1 – 2 เดือน และเข็มที่ 3 ห่างจากเข็มแรก 6 เดือน 
  • วัคซีนนี้จะมีประสิทธิภาพสูงสุด เมื่อฉีดให้กับเด็กผู้หญิงวัยเจริญพันธุ์ (9 – 26 ปี) หรือสตรีที่ยังไม่มีเพศสัมพันธ์ 
  • หากเป็นสตรีที่มีเพศสัมพันธ์แล้ว (วัคซีนจะทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพกับผู้ที่ยังไม่มีการติดเชื้อ HPV หรือไม่มีเซลล์ผิดปกติ) 
  • ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง หากพบความเสี่ยงควรรีบเข้าพบแพทย์เพื่อรับการรักษา

“มะเร็งปากมดลูก” เป็นมะเร็งทางนรีเวช ที่สามารถตรวจคัดกรองได้ และถ้าหากพบจะป้องกันและรักษาให้หายได้ โดยการตรวจภายในเป็นประจำ หรับท่านที่ฉีดวัคซีนแล้วก็ยัง คงต้องตรวจคัดกรองสม่ำเสมอ

 

บทความโดย :  โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ



ศูนย์การรักษาที่เกี่ยวข้อง

แผนกตรวจสุขภาพ

แผนกตรวจสุขภาพ

สถานที่

อาคาร A ชั้น 2

เวลาทำการ

07:00 - 15:00 น.

เบอร์ติดต่อ

045-244-999

obstetrics-and-gynecology-department

แผนกสูตินรีเวช

สถานที่

อาคาร A ชั้น 2

เวลาทำการ

09:00 - 14:00 น.

เบอร์ติดต่อ

045-244-999

แพทย์แนะนำ

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

พญ.กิติยา จันทรวิถี

พญ.กิติยา จันทรวิถี

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

อายุรแพทย์โรคหัวใจและหลอดเลือด

นพ. ลิขิต กำธรวิจิตรกุล

ศัลยเเพทย์ออร์ปิดิกส์

บทความที่เกี่ยวข้อง

ระยะของมะเร็งปากมดลูก

การแบ่งระยะหรือจำแนกประเภทของมะเร็งนั้น ปกติจะพิจารณาจากจำนวนมะเร็งในร่างกายและตำแหน่งของมะเร็งเมื่อได้รับการวินิจฉัยครั้งแรก  ระบบการแบ่งระยะที่พบบ่อยที่สุดสำหรับมะเร็งปากมดลูกคือระบบ FIGO ซึ่งมะเร็งปากมดลูกนั้นสามารถแบ่งออกได้เป็น 4 ระยะ ยิ่งระยะของมะเร็งยิ่งมาก มะเร็งก็จะแพร่กระจายได้มาก 

ระยะของมะเร็งปากมดลูก

การแบ่งระยะหรือจำแนกประเภทของมะเร็งนั้น ปกติจะพิจารณาจากจำนวนมะเร็งในร่างกายและตำแหน่งของมะเร็งเมื่อได้รับการวินิจฉัยครั้งแรก  ระบบการแบ่งระยะที่พบบ่อยที่สุดสำหรับมะเร็งปากมดลูกคือระบบ FIGO ซึ่งมะเร็งปากมดลูกนั้นสามารถแบ่งออกได้เป็น 4 ระยะ ยิ่งระยะของมะเร็งยิ่งมาก มะเร็งก็จะแพร่กระจายได้มาก