Header

โรคเกี่ยวกับกระดูกและข้อ

นพ.ปิยวัฒน์ จิรัปปภา นพ.ปิยวัฒน์ จิรัปปภา

ความสำคัญของกระดูกและข้อ 

              กระดูก คืออวัยวะที่แข็งแรงที่สุดของมนุษย์ เพราะกระดูกเป็นเหมือนเสื้อเกราะที่คุ้มครองร่างกายภายในไม่ให้เกิดการกระทบกระเทือน เพราะอวัยวะภายในเป็นส่วนสำคัญของระบบภายในร่างกาย หากเกิดการกระทบกระเทือนแม้แต่น้อย ส่วนอื่นๆ ก็จะมีปัญหาตามมาด้วย 

ซึ่งมนุษย์เรามีกระดูกทั้งหมด 206 ชิ้น โดยโครงกระดูกแบ่งออกเป็น กระดูกแกน และกระดูกรยางค์ซึ่งช่วยพยุงร่างกาย รักษารูปร่างให้ทรงตัวได้ เป็นที่ยึดเกาะของกล้ามเนื้อและเอ็นต่างๆ รวมถึงเป็นแหล่งผลิตเม็ดเลือดที่สำคัญ เก็บสะสมแคลเซียมของร่างกาย และสามารถประเมินการเจริญเติบโตและพัฒนาการของเด็กได้

ส่วนข้อต่อเป็นส่วนของกระดูกที่มาต่อกัน โดยมีเอ็นยึดและหุ้มอยู่โดยรอบ เพื่อเสริมความแข็งแรง และช่วยในการเคลื่อนไหว ไม่ให้กระดูกหลุดออกจากกัน

 

เมื่ออายุเพิ่มมากขึ้น หลายคนอาจประสบปัญหาเกี่ยวกับกระดูกและข้อ เริ่มมีเสียงดังในข้อ เริ่มมีอาการเจ็บปวดบริเวณข้อต่อต่างๆ โดยเฉพาะข้อที่ต้องใช้งานบ่อยๆ หรือออกแรงมากๆอย่างข้อเข่า เมื่อเกิดอาการบ่อยๆ หลายคนอาจชะล่าใจเพราะคิดว่าเป็นอาการที่เกิดขึ้นตามช่วงวัย และคงหายไปเอง แต่จริงๆแล้ว โรคเกี่ยวกับกระดูกและข้อ สามารถหาแนวทางรักษาได้ เพื่อไม่ให้กระดูกและข้อเสื่อมถาวร 

 

 โรคข้อเข่าเสื่อม

พบมากในวัยกลางคนและผู้สูงอายุ มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ผู้ที่มีภาวะข้อเข่าเสื่อม ถ้าไม่ได้รับการรักษาหรือปฏิบัติตัวอย่างเหมาะสม อาจทำให้ข้อเข่าผิดรูป เดินได้ไม่ปกติ ใช้ชีวิตประจำวันไม่สะดวก

 โรคข้อเข่าเสื่อมเป็นโรคที่เกิดจากความเสื่อมของกระดูกอ่อน ผิวข้อ ทั้งทางรูปร่าง โครงสร้างการทำงานของกระดูกข้อต่อ และ กระดูกบริเวณใกล้ข้อ การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นไม่สามารถกลับสู่สภาพเดิมได้และอาจมีความรุนแรงเกิดขึ้นตามลำดับ  

 

ข้อเข่าเสื่อมแบ่งออกเป็น 2 ชนิด 

1. ความเสื่อมแบบปฐมภูมิ 

เกิดจากการเสื่อมสภาพของผิวกระดูกอ่อนตามอายุที่เพิ่มมากขึ้น รวมไปถึงน้ำหนักตัวและกรรมพันธุ์ 

2. ความเสื่อมแบบทุติยภูมิ 

 เกิดจากที่เคยประสบอุบัติเหตุ มีการบาดเจ็บที่ข้อและเส้นเอ็น การบาดเจ็บเรื้อรังที่บริเวณข้อเข่า จากการทำงานหรือเล่นกีฬา โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ เก๊าต์ ข้ออักเสบติดเชื้อ โรคของต่อมไร้ท่อ เป็นต้น  

 อาการเริ่มต้นที่แสดงในระยะแรก คือ  เริ่มปวดเข่าเวลาเคลื่อนไหว เช่น เดินขึ้นลงบันได หรือนั่งพับเข่า และอาการจะดีขึ้นเมื่อหยุดพัก เมื่อมีภาวะข้อเสื่อมรุนแรงอาการปวดจะรุนแรงมากขึ้น เหยียดหรืองอข้อเข่าได้ไม่ค่อยสุด กล้ามเนื้อต้นขาลีบ ข้อเข่าโก่ง หลวม หรือบิดเบี้ยวผิดรูป ทำให้เดินและใช้ชีวิตประจำวันลำบาก  
 

การรักษาผู้ป่วยที่มีภาวะข้อเข่าเสื่อม

1. ปรับอิริยาบถในชีวิตประจำวัน เช่น หลีกเลี่ยงการนั่งพับเพียบ คุกเข่า ไม่ขึ้นลงบันไดบ่อย หรือไม่ยกหรือแบกของหนักๆ และควบคุมน้ำหนักตัว หมั่นออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้กล้ามเนื้อรอบข้อแข็งแรง ควรหลีกเลี่ยงกีฬาที่ต้องกระโดดเช่น วิ่ง หรือเล่นเทนนิส เป็นต้น การออกกำลังกายที่แนะนำ ได้แก่ ว่ายน้ำและเดิน 

 2. ใช้ยาบรรเทาอาการข้อเสื่อม เพื่อลดอาการปวดและอักเสบภายในข้อ ซึ่งการรับยาควรอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์ ส่วนการฉีดยาสเตียรอยด์เข้าข้อนั้น สามารถลดอาการปวดในช่วงสั้นๆ 2-3 สัปดาห์ต้อง อยู่ในการดูแลอย่างใกล้ชิดของแพทย์ แต่ไม่ควรฉีดประจำ เนื่องจากจะทำลายกระดูกอ่อนข้อต่อได้

 3. รักษาโดยการผ่าตัด มีวิธีการผ่าตัดชนิดต่างๆ เช่น การส่องกล้องภายในเข่า เพื่อตรวจสภาพและ ล้างภายในข้อ จะใช้ในกรณีที่มีเศษกระดูกอ่อนมาขวางการเคลื่อนไหวของเข่าและเป็นข้อเข่าเสื่อมในระยะแรก การผ่าตัดปรับแนวข้อ ทำได้ในกรณีที่มีการผิดรูปของข้อ โดยแก้ไขแนวแรงให้กระจายไปยังจุดที่ผิวข้อยังดีอยู่ และการผ่าตัดเปลี่ยนผิวข้อเข่าเทียม ซึ่งเป็นวิธีการรักษาภาวะข้อเข่าเสื่อมในระยะปานกลางถึงระยะรุนแรงที่ให้ผลการรักษาดีที่สุด สามารถทำให้หายปวดเข่าได้ ข้อเข่ากลับมาเคลื่อนไหวได้ดีอีกครั้ง 

 

ขอบคุณข้อมูลจาก : 

  กรมการแพทย์ 

นพ. วิโรจน์ กวินวงศ์โกวิท ภาควิชาออร์โธปิดิกส์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี  มหาวิทยาลัยมหิดล

ดร. นที คัดนานตดิลก (นิตยสารหมอชาวบ้าน) 



ศูนย์การรักษาที่เกี่ยวข้อง

orthopedic-center

แผนกกระดูกและข้อ

สถานที่

อาคาร A ชั้น 1

เวลาทำการ

08:00 - 17:00 น.

เบอร์ติดต่อ

045-244-999

แพทย์ประจำศูนย์

แผนกกระดูกและข้อ

พญ.ประภาศิริ เจริญศรี

มือและจุลยศัลยศาสตร์

แผนกกระดูกและข้อ

นพ.ปิยวัฒน์ จิรัปปภา

แพทย์ออร์โธปิดิกส์ (เนื้องอกกระดูกและระบบเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน)

แพทย์แนะนำ

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

พญ.กิติยา จันทรวิถี

พญ.กิติยา จันทรวิถี

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

อายุรแพทย์โรคหัวใจและหลอดเลือด

นพ. ลิขิต กำธรวิจิตรกุล

ศัลยเเพทย์ออร์ปิดิกส์