Header

โรคข้อสะโพกเสื่อม

19 มิถุนายน 2567

นพ.ปิยวัฒน์ จิรัปปภา นพ.ปิยวัฒน์ จิรัปปภา

อาการปวดสะโพกที่เกิดบ่อยครั้ง อาจจะถือว่าเป็นสัญญาณเตือนนำไปสู่โรคข้อสะโพกเสื่อม ซึ่งเป็นอาการที่พบได้ทั้งในคนอายุมากและอายุยังน้อย นอกจากจะสร้างความเจ็บปวดบริเวณสะโพกแล้ว  ยังส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวันอีกด้วย  ส่วนใหญ่จะคิดว่าเป็นเพียงอาการปวดสะโพกธรรมดา จึงเพิกเฉยต่ออาการและหายามารับประทานเอง จนอาการอาจจะลุกลามเป็นข้อสะโพกเสื่อมในที่สุด ซึ่งปัจจุบันมีวิธีการรักษาทั้งแบบไม่ผ่าตัดและแบบผ่าตัด หากเข้ารับการรักษาแล้วไม่ต้องพักฟื้นนาน และสามารถกลับไปเคลื่อนไหวใช้ชีวิตประจำวันได้ปกติ

 โรคข้อสะโพกเสื่อม

พบได้ตั้งแต่วัยหนุ่มสาว แต่ส่วนใหญ่จะพบบ่อยในผู้สูงอายุ สาเหตุเกิดจากความผิดปกติข้อสะโพกแต่กำเนิด ข้อสะโพกเสื่อมตามวัย การรับประทานยาบางชนิดโดยเฉพาะยาแก้ปวด โรคติดเชื้อบางอย่าง น้ำหนักตัวมาก อุบัติเหตุ รวมถึงความผิดปกติทางพันธุกรรม เป็นต้น และจะแสดงอาการ ปวดรอบๆข้อสะโพก ปวดช่วงขาหนีบ รู้สึกข้อสะโพกขัดในตอนเช้าหลังจากตื่นนอน มีเสียงภายในข้อสะโพก ข้อสะโพกติดขัด ซึ่งไม่ควรนิ่งนอนใจควรรีบไปพบแพทย์เพื่อรับการรักษา อย่างไรก็ตามควรถนอมข้อสะโพกโดยใช้งานอย่างถนอมและถูกวิธี หลีกเลี่ยงการใช้งานข้อสะโพกโดยไม่ยกของหนัก ตลอดจนไม่ทำกิจกรรมหรือออกกำลังกายที่ใช้งานข้อสะโพกอย่างรุนแรง

 

การรักษาโรคข้อสะโพกเสื่อม

1. การรักษาโดยไม่ผ่าตัด ด้วยวิธีพักการใช้งานข้อสะโพก ทำกายภาพตามโปรแกรมแบบเบาๆ ออกกำลังกายเป็นประจำ เช่น ว่ายน้ำ ปั่นจักรยาน เพื่อช่วยเพิ่มความแข็งแรงของข้อสะโพก ทานยาแก้อักเสบชนิดที่ไม่มีสเตียรอยด์เพื่อบรรเทาอาการปวด ในรายที่มีน้ำหนักตัวมากควรลดน้ำหนัก และ

2. การรักษาโดยการผ่าตัด หากข้อสะโพกเสื่อมมีความรุนแรงมากขึ้น ผู้ป่วยจะเริ่มเจ็บข้อสะโพกแม้พักอยู่เฉยๆในตอนกลางคืน หรือข้อสะโพกผิดรูปอย่างมาก แพทย์จะแนะนำให้รักษาโดยการผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียมบริเวณที่เป็นหัวและเบ้าแทนข้อสะโพกเดิม ซึ่งจะรักษาความเจ็บปวดและช่วยพัฒนาการเดิน ทั้งนี้ภายหลังการผ่าตัดผู้ป่วยควรทำกายภาพบำบัด เนื่องจากเป็นสิ่งที่สำคัญที่จะช่วยฟื้นฟูการทำงานของข้อสะโพกและกล้ามเนื้อให้กลับมาใช้งานได้ตามปกติ 

 

ขอบคุณข้อมูลจาก : 

  กรมการแพทย์ 

นพ. วิโรจน์ กวินวงศ์โกวิท ภาควิชาออร์โธปิดิกส์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี  มหาวิทยาลัยมหิดล

ดร. นที คัดนานตดิลก (นิตยสารหมอชาวบ้าน) 



ศูนย์การรักษาที่เกี่ยวข้อง

orthopedic-center

แผนกกระดูกและข้อ

สถานที่

อาคาร A ชั้น 1

เวลาทำการ

08:00 - 17:00 น.

เบอร์ติดต่อ

045-244-999

แพทย์ประจำศูนย์

แผนกกระดูกและข้อ

พญ.ประภาศิริ เจริญศรี

มือและจุลยศัลยศาสตร์

แผนกกระดูกและข้อ

นพ.ปิยวัฒน์ จิรัปปภา

แพทย์ออร์โธปิดิกส์ (เนื้องอกกระดูกและระบบเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน)

แพทย์แนะนำ

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

พญ.กิติยา จันทรวิถี

พญ.กิติยา จันทรวิถี

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

อายุรแพทย์โรคหัวใจและหลอดเลือด

นพ. ลิขิต กำธรวิจิตรกุล

ศัลยเเพทย์ออร์ปิดิกส์